รับซื้อโน๊ตบุ๊ค สุรินทร์ บริการรับซื้อถึงที่ ให้ราคาสูงที่สุด รับซื้อโน๊ตบุ๊คมือสอง
สวัสดีครับวันนี้เรามาแนะนำทีมงาน รับซื้อโน๊ตบุ๊ค ในจังหวัด สุรินทร์ ที่ให้ราคาสูงที่สุดและยังมีบริการไปรับถึงหน้าบ้านของท่าน
เพียงแอดไลน์แอด @webuy มีตัว @ ด้วย ท่านสามารถส่งรูปโน๊ตบุ๊ค ให้ทีมงานตีราคาก่อนได้เลย
หรือโทรด่วน 064-257-9353 คุณโน๊ต
เราพร้อมจะประสานงานทีมงานเพื่อไป รับซื้อโน๊ตบุ๊ค ของท่านถึงที่
**** ที่สำคัญ เราไม่รับของโจร ของผิดกฏหมายทุกกรณี ****
รับซื้อโน๊ตบุ๊คเมืองสุรินทร์,รับซื้อโน๊ตบุ๊คกาบเชิง,รับซื้อโน๊ตบุ๊คจอมพระ,รับซื้อโน๊ตบุ๊คชุมพลบุรี,รับซื้อโน๊ตบุ๊คท่าตูม,รับซื้อโน๊ตบุ๊คบัวเชด,รับซื้อโน๊ตบุ๊คปราสาท,รับซื้อโน๊ตบุ๊ครัตนบุรี,รับซื้อโน๊ตบุ๊คลำดวน,รับซื้อโน๊ตบุ๊คศีขรภูมิ,รับซื้อโน๊ตบุ๊คสนม,รับซื้อโน๊ตบุ๊คสังขะ,รับซื้อโน๊ตบุ๊คสำโรงทาบ
รับซื้อโน๊ตบุ๊ค,รับซื้อโน๊ตบุ๊คสุรินทร์ ,รับซื้อคอมสุรินทร์ ,รับซื้อมือถือสุรินทร์,รับซื้อไอโฟนสุรินทร์,รับซื้อไอแพดสุรินทร์,รับซื้อกล้องสุรินทร์,รับซื้อลำโพงสุรินทร์,รับซื้อทีวีสุรินทร์ ,รับซื้อ notebook สุรินทร์, รับซื้อ macbook สุรินทร์,รับซื้อ iphone สุรินทร์ , รับซื้อ ipad สุรินทร์ , รับซื้อ computer สุรินทร์ , รับซื้อ server สุรินทร์
ขั้นตอนในการ ขายโน๊ตบุ๊ค ง่ายๆ
1 แอดไลน์ @webuy ส่งรูปให้ทีมงานตีราคา รับซื้อโน๊ตบุ๊ค สุรินทร์
2 ตกลงซื้อขายราคากันได้สำเร็จ ทีมงานแจ้งนัดเวลาที่เข้ารับซื้อโน๊ตบุ๊ต
3 ทีมงานเข้าตรวจสอบโน๊ตบุ๊คของท่านว่าเป็นไปตรงตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่
4 ตกลงซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้รับเงินสดทันที
ขายโน๊ตบุ๊คกับเราดียังไง ทำไมต้องขายกับเรา รับซื้อโน๊ตบุ๊ค สุรินทร์
เรามีบริการรับซื้อถึงที่ ให้ราคาสูงที่สุด สามารถประเมินราคาก่อนตกลงซื้อขายกันได้ ถ้าพอใจในราคาจึงตกลงซื้อขายกันครับ
เรารับได้ไม่อั้น มี 1 เครื่องก็รับ มี 100 เครื่องเราก็รับ
ไม่ต้องเทียบราคาที่อื่นยาก เราให้สูงที่สุด พอใจในราคาตกลงกันได้เลย
แอดไลน์ @webuy ( มีตัว @ ด้วย ) หรือโทร 064-2579353 แนะนำให้ติดต่อผ่านไลน์
จังหวัดไหนบ้างที่เรามีบริการ รับซื้อโน๊ตบุ๊ค
เรารับซื้อ.com กำลังขยายเขตการ รับซื้อโน๊ตบุ๊ค มือสองให้ครอบคลุมทั่วภาคอีสาน ในขณะนี้เราสามารถรับซื้อได้ในทุกจังหวัดในภาคอีสาน โดยทีมงานมืออาชีพ
หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี
รับซื้อโน๊ตบุ๊ค ขอนแก่น ต้องการขายโน๊ตบุ๊ค เพียงแอดไลน์ @webuy ส่งรูปโน๊ตบุ๊ค ตีราคา ตกลงขายกันได้ทันที รับซื้อโน๊ตบุ๊คทุกจังหวัด รับซื้อโน๊ตบุ๊ค จังหวัด สุรินทร์
รับซื้อโน๊ตบุ๊คหนองคาย,รับซื้อโน๊ตบุ๊คนครพนม, รับซื้อโน๊ตบุ๊คสกลนคร, รับซื้อโน๊ตบุ๊คอุดรธานี ,รับซื้อโน๊ตบุ๊คหนองบัวลำภู ,รับซื้อโน๊ตบุ๊คเลย ,รับซื้อโน๊ตบุ๊คมุกดาหาร ,รับซื้อโน๊ตบุ๊คกาฬสินธุ์, รับซื้อโน๊ตบุ๊คขอนแก่น ,รับซื้อโน๊ตบุ๊คอำนาจเจริญ, รับซื้อโน๊ตบุ๊คยโสธร,รับซื้อโน๊ตบุ๊คร้อยเอ็ด, รับซื้อโน๊ตบุ๊คมหาสารคาม ,รับซื้อโน๊ตบุ๊คชัยภูมิ, รับซื้อโน๊ตบุ๊คนครราชสีมา ,รับซื้อโน๊ตบุ๊คบุรีรัมย์, รับซื้อโน๊ตบุ๊คสุรินทร์,รับซื้อโน๊ตบุ๊คศรีสะเกษ ,รับซื้อโน๊ตบุ๊คอุบลราชธานี
ความแตกต่างในโน๊ตบุ๊ค แต่ละแบบ
โน้ตบุ๊คแต่ละแบบมักจะแตกต่างกันตามลักษณะการใช้งาน สเปคที่มี และการออกแบบ ต่อไปนี้คือบางประเภทที่แตกต่างกันได้:
ขนาดและน้ำหนัก : โน้ตบุ๊คมีขนาดและน้ำหนักที่แตกต่างกัน เริ่มตั้งแต่โน้ตบุ๊คเล็กที่สุดที่มีขนาดน้อยและน้ำหนักเบาสำหรับความสะดวกในการพกพา ไปจนถึงโน้ตบุ๊คที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากสำหรับการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง ซึ่งมักมีการเพิ่มพลังประมวลผล การ์ดจอ และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ
สเปคของฮาร์ดแวร์ : สเปคฮาร์ดแวร์ของโน้ตบุ๊คอาจแตกต่างกันไปตามการใช้งานที่ต้องการ เช่น โน้ตบุ๊คสำหรับการทำงานทั่วไปอาจมีฮาร์ดแวร์ที่น้อยกว่าโน้ตบุ๊คสำหรับเล่นเกม โดยมีความสำคัญในสเปคเช่น ชิปเซ็ต (CPU), การ์ดจอ (GPU), หน่วยความจำ (RAM), และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage)
การออกแบบและคุณสมบัติพิเศษ : โน้ตบุ๊คอาจมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างกัน เช่น บางโน้ตบุ๊คอาจมีจอที่สามารถหมุนได้ หรือมีการออกแบบที่ทนทานต่อการใช้งานภายนอก
ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่มากับโน้ตบุ๊ค : บางโน้ตบุ๊คอาจมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน เช่น Windows, macOS, หรือ Linux และมีซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่มากับโน้ตบุ๊คตามความเหมาะสมของผู้ผลิต
ราคา : ราคาของโน้ตบุ๊คมักจะแตกต่างกันอย่างมากตามสเปคและคุณลักษณะพิเศษที่มี โดยโน้ตบุ๊คที่มีสเปคสูงและคุณลักษณะพิเศษมักจะมีราคาสูงกว่าโน้ตบุ๊คที่มีสเปคต่ำและคุณลักษณะน้อยลง
ประวัติจังหวัด สุรินทร์
สุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเป็นมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ข้อมูลในพงศาวดาร เรื่องเล่าตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา เป็นที่อยู่ของชนหลายเผ่าพันธุ์ทั้ง ไทย เขมร ลาว กวยหรือกูย ทำให้มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ตัวเมืองเมืองสุรินทร์ พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์มีมนุษย์เข้ามาตั้งชุมชนแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ลักษณะชุมชนเป็นเนินดินมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ขนาดกว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,300 เมตร เป็นลักษณะเฉพาะของแผนผังเมืองโบราณตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นซึ่งพบทั่วไปในเขตภาคอีสานตอนล่าง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองสุรินทร์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอนที่ 98 ลงวันที่ 19 กันยายน 2521
จากการสำรวจของหน่วยศิลปากรที่ 6 ในปี พ.ศ. 2534 พบว่าตัวเมืองยังมีสภาพที่สมบูรณ์เห็นแนวคูน้ำ-คันดินแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ เมืองชั้นในและเมืองชั้นนอก
เมืองชั้นใน มีลักษณะเป็นรูปวงรีแบบสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น มีขนาดกว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,300 เมตร สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์ มีบางส่วนเท่านั้นที่ขาดหายไป
เมืองชั้นนอก มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชุมชนขอมโบราณ มีคูน้ำ 2 ชั้น คันดิน 1 ชั้นล้อมรอบ ขนาดกว้าง 1,500 เมตร ยาว 2,500 เมตร สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์ ยกเว้นด้านทิศใต้
จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า ตัวเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เคยเป็นบ้านเมืองมาแล้วตั้งแต่สมัยโบราณกาล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองสุรินทร์ในอดีต ตลอดจนถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่อย่างสำคัญที่คนสุรินทร์ในปัจจุบันจะช่วยกันรักษามรดกอันทรงคุณค่าชิ้นนี้ไว้ตราบชั่วลูกหลาน ด้วยการไม่บุกรุกทำลายคูน้ำคันดินของเมืองโบราณสุรินทร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุรินทร์
จากการศึกษาวิจัยการและสำรวจพบแหล่งโบราณคดีในจังหวัดสุรินทร์ กว่า 59 แห่ง ส่วนมากเป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำ-คันดินล้อมรอบ ได้แก่
แหล่งโบราณคดีบ้านโนนสวรรค์ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี หมู่บ้านเป็นเนินสูงเกือบ 3 เมตร พบโบราณวัตถุได้แก่ เศษภาชนะดินเผาแบบต่างๆ รวมทั้งภาชนะเคลือบสีน้ำตาลแบบขอม และพบภาชนะที่ใช้บรรจุมีลักษณะเป็นภาชนะก้นมนขนาดใหญ่ ที่ใช้ในการฝังศพครั้งที่สองของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปี มาแล้ว พบมากไปตลอดลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางแถบจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เป็นลักษณะของกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นที่ตั้งของปราสาททนง เป็นโบราณสถานขอมชึ่งกรมศิลปากรมีโครงการขุดแต่ง ในปี พ.ศ.2536 และได้ขุดตรวจชั้นดินทางด้านหลังของโบราณสถาน พบหลักฐานสำคัญแสดงให้เห็นถึงการอยุ่อาศัยของมนุษย์มาก่อนจะสร้างปราสาท คือ โครงกระดูกมนุษย์เพศชาย อายุประมาณ 35- 40 ปี ปัจจุบันได้นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
นอกจากแหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งนี้แล้ว ยังไม่มีการขุดค้นตามหลักวิชาการในอีกกว่า 50 แห่ง อาศัยเพียงเทียบเคียงค่าอายุกับแหล่งอื่น ๆ พอสรุปได้ว่ามีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปีมาแล้ว
สมัยประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุรินทร์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบหลักฐานชุมชนสมัยทวารวดีทั้งภูมิภาค เมืองโบราณที่สำคัญ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมืองโบราณบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมทวารวดี นั่นคือ การนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งก่อให้เกิดงานศิลปกรรมที่เนื่องในศาสนา ตามเมืองหรือชุมชนโบราณสมัยทวารวดีจะพบว่ามีการสร้างสิ่งก่อสร้าง หรือ รูปเคารพในศาสนาพุทธขึ้น ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ใบเสมา เป็นต้น
แหล่งวัฒนธรรมทวารวดีในสุรินทร์
วัฒนธรรมทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 หรือราว 1,000-1,400 ปีมาแล้ว
ในภาคอีสานตอนล่าง ชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดี มีอายุเดียวกับชุมชน ในจังหวัดต่างๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล เช่น เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เมืองโบราณบ้านฝ้าย อำเภอหนองหงส์ เมืองโบราณบ้านประเคียบ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เมืองคงโคก อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ชุมชนโบราณบ้านไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ( กรมศิลปากร, 2532 : 114 – 116 ) เป็นต้น
ลักษณะชุมชนวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในจังหวัดสุรินทร์มักจะมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีโบราณวัตถุเนื่องในพุทธศาสนา เช่น ใบเสมา พระพุทธรูป พระพิมพ์ เป็นต้น
ชุมชนโบราณบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ บริเวณบ้านตรึม มีลักษณะเป็นชุมชนที่มีคูน้ำล้อมรอบ ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า หนองสิม ภายในวัดตรึม เป็นเนินดินมีใบเสมาปักอยู่ 16 ใบ ลักษณะเป็นแบบแผ่นรูปกลีบบัว ทำด้วยศิลาแลงและหินบะชอลต์ ใบเสมาทุกใบจะมีลักษณะของการตกแต่งที่เหมือนกัน นั่นคือ แกะสลักเป็นรูปหม้อน้ำ อยู่ตรงกลางใบทั้งสองด้าน ยอดเป็นกรวยแหลมบรรจบกับส่วนบนของใบเสมาพอดี ขอบใบเสมาแกะเป็นเส้นตรงโค้งไปตามขอบ ทำให้ดูเหมือนว่าผิวหน้าทั้งสองด้านของใบเสมายื่นออกมา ปัจจุบันทางวัดได้สร้างอาคารคลุมใบเสมาและเนินดินไว้
ชุมชนโบราณบ้านไพรขลา ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ พบใบเสมา ที่โนนสิมมาใหญ่ และโนนสิมมาน้อย
โนนสิมมาใหญ่
อยู่ภายในหมู่บ้านทางทิศใต้ มีกลุ่มใบเสมาจำนวนมาก ปักอยู่ในตำแหน่งทิศทั้งแปดบางส่วนถูกเคลื่อนย้าย มาเก็บรวมกันไว้ในอาคารขนาดเล็ก ใบเสมาทั้งหมดทำจากศิลาแลง เป็นแผ่นรูปกลีบบัว ตรงกลางใบเป็นรูปหม้อน้ำมียอดเป็นรูปกรวยแหลม หรือเป็นสันขึ้นมาทั้งสองด้าน ลักษณะการตกแต่งเหมือนกับใบเสมาที่บ้านตรึม
โนนสิมมาน้อย
อยู่ทางทิศตะวันตกภายในหมู่บ้าน บริเวณนี้พบใบเสมาจำนวนเล็กน้อยอยู่รวมกันเพียงจุดเดียว ใบเสมาบางใบน่าจะปักอยู่ในตำแหน่งเดิม โดยมีการย้ายใบเสมาใบอื่น ๆ มาวางรวมกันไว้ ลักษณะของใบเสมาเหมือนกับใบเสมาที่โนนสิมมาใหญ่ เป็นใบเสมาแบบแผ่นรูปกลีบบัว ตรงกลางใบทำเป็นสันทั้งสองด้าน ทั้งหมดทำจากศิลาแลง
ใบเสมาที่พบสันนิษฐานว่าปักไว้เพื่อกำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในสมัยนั้น
วัฒนธรรมขอมโบราณในสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์ด้านทิศใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นเขตแดน มีการเดินทางติดต่อกันมาแต่โบราณผ่านทางช่องเขา เช่น ช่องจอม อ.กาบเชิง ช่องตาเมือน อ.พนมดงรัก เป็นต้น ทำให้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันมาตลอด โดยเฉพาะในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-18 โดยศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบดังนี้
ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ตรงกับรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรขอมโบราณ จังหวัดสุรินทร์มีการสร้างปราสาทภูมิโพน ที่ ต.ดม อ.สังขะ เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ในศาสนาฮินดูศิลปะขอมโบราณสมัยไพรกเมง (สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ,2532)ประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 หลัง และฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง 1 หลัง พบชิ้นส่วนจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต 1 ชิ้น ซึ่งมีใช้ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ทับหลังรูปสัตว์ครึ่งสิงห์ครึ่งนก ประกอบวงโค้งที่มีวงกลมรูปไข่ ศิลปะขอมโบราณแบบไพรกเมง จำนวน 1 แผ่น
บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากปราสาท 500 เมตร มีหนองปรือซึ่งเป็นบารายขนาดใหญ่ แบบวัฒนธรรมขอมโบราณ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 300X500 เมตร อยู่ 1 แห่ง
ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 (ประมาณ 1,100 ปีมาแล้ว) ในเขตจังหวัดสุรินทร์ มีชุมชนวัฒนธรรมเขมรโบราณที่สำคัญอีก 2 แห่ง คือ ชุมชนปราสาทหมื่นชัย บ้านถนน และชุมชนปราสาทบ้านจารย์ ต.บ้านจารย์ อ.สังขะ
ปราสาทบ้านจารย์ เป็นปราสาทศิลปะขอมโบราณสมัยเกาะแกร์ ราวกลาง-ปลายพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นปราสาทองค์เดียว ก่อด้วยอิฐ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ ปัจจุบันตัวปราสาทมีสภาพหักพังเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ บนตัวปราสาทมีทับหลังขนาดใหญ่สลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ปราสาทหมื่นชัย เป็นปราสาทองค์เดียว ก่อด้วยอิฐ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ ปัจจุบันตัวปราสาทมีสภาพหักพังเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ
ปราสาทตาเมือนธม บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ ก่อด้วยหินทราย และศิลาแลง
ปราสาททนง บ้านปราสาท ต.ปราสาททนง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลับพลาและปราสาทประธาน
ปราสาทบ้านไพล บ้านปราสาท ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เป็นปราสาทอิฐ 3 องค์ มีขนาดเท่ากันตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ
ต่อมาในช่วงอารยธรรมขอมในประเทศกัมพูชาได้เจริญถึงขีดสุดราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย พบปราสาทหินและเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอม เป็นจำนวนมาก ได้แก่ เมืองพิมาย อันมีปราสาทพิมายเป็นศูนย์กลางของเมือง ตัวเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ เป็นต้น ช่วงระยะเวลานี้มีหลักฐานว่าเมืองสุรินทร์ได้รับอิทธิพลอารยธรรมของขอมโบราณอย่างมากเช่นกัน มีการปรับแผนผังเมืองให้ใหญ่ขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอมโบราณมีคูน้ำ 2 ชั้น คันดิน 1 ชั้น ล้อมรอบ ขนาดกว้าง 1,500 เมตร ยาว 2,500 เมตร ล้อมรอบตัวเมืองเดิมรูปวงรีในสมัยก่อนหน้านั้นไว้ภายในอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพื้นที่อำเภอต่างๆ พบปราสาทขอมโบราณอีกหลายแห่ง
ในช่วงหลังของพุทธศตวรรษที่ 18 อารยธรรมขอมโบราณเสื่อมลง เมืองสุรินทร์น่าจะเป็นบ้านเมืองสืบมาจนถึงในราวสมัยอยุธยาตอนปลายราวต้นพุทธศตวรรษที่ 24 สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พระมหากษัตริย์ แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้ยกชุมชนหลายแห่งในจังหวัดสุรินทร์เป็นเมือง ตัวเมืองสุรินทร์ในขณะนั้นเรียกว่า “ บ้านคูประทายสมัน “ จึงโปรดให้ยกขึ้นเป็นเมืองคูประทายสมัน มีพระสุรินทร์ภักดีเป็นเจ้าเมือง ทำราชการขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ยกฐานะเจ้าเมืองคูประทายสมันขึ้นเป็นพระยา นามว่า พระยาสุรินทร์ภักดี ปกครองเมืองคูประทายสมัน ขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้เมืองในบริเวณนี้หลายเมือง ได้แก่ เมืองคูประทายสมัน เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะ อันเป็นเมืองที่มีความชอบในราชการสงคราม ทำราชการขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พร้อมกับโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองคูประทายสมัน เป็นเมืองสุรินทร์ ตามชื่อเจ้าเมืองในคราวเดียวกัน ต่อมาเปลี่ยนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองสืบต่อมาถึงปัจจุบัน