รับซื้อกล้องถ่ายรูปอุบล
|

รับซื้อจอคอม อำนาจเจริญ

รับซื้อจอคอม อำนาจเจริญ รับซื้อจอเกมมิ่ง อำนาจเจริญ รับซื้อจอคอมพิวเตอร์ อำนาจเจริญ

เรารับซื้อ  หน้าจอคอม ใกล้ฉัน รับซื้อจอคอม อำนาจเจริญ สนใจจะขาย จอคอม  อำนาจเจริญ เราพร้อม รับซื้อ  จอคอมพิวเตอร์  อำนาจเจริญ

Add Line id : @webuy    (มีเครื่องหมาย @ด้วย)

หรือ โทรด่วน 064-2579353 มีทีมงานรอรับของ และตีราคาให้ 24 ชั่วโมง !

รับซื้อแอดไลน์

ติดต่อทีมงานผ่านไลน์แอด ตีราคา ไปรับสินค้าหรือนำมาที่ร้าน รับเงินทันที

 

บริการรับซื้อจอคอมมือสอง ไม่ใช้แล้ว อยากเปลี่ยนเป็นรุ่นใหม่ อยากได้รุ่นใหม่ นำมาขายกับเราได้  ให้ราคาสูง ไม่กดราคา

เรารับซื้อ.com มีทีมงานดูแลท่าน 24 ชั่วโมง สามารถแอดไลน์ @webuy เพื่อสอบถามราคาได้เลย ไม่ต้องรอนาน

รับซื้อจอ Samsung  รับซื้อจอ Acer รับซื้อจอ Dell รับซื้อจอ MSI รับซื้อจอ Huawei รับซื้อจอ Xoaimi รับซื้อจอ AOC รับซื้อจอ Lenovo รับซื้อจอ HP

รับซื้อจอ 19 นิ้ว รับซื้อจอ 22 นิ้ว รับซื้อจอ 24 นิ้ว รับซื้อจอ 27 นิ้ว รับซื้อจอ 32 นิ้ว

 

 

รับซื้อจอคอม อำนาจเจริญ

MONITOR (จอมอนิเตอร์) จอคอมพิวเตอร์ จอภาพคอม ( ขอบคุณบทความจาก https://computeandmore.com/ )

จอมอนิเตอร์ (Monitor) คืออะไร?
Monitor หรือที่เรียกอีกอย่างว่า VDU ที่ย่อมาจาก Visual Display Unit เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ โดยรับข้อมูลแล้วแปลงออกมาเป็นสัญญาณภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพ ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ รวมไปถึงสีสันต่าง ๆ ด้วย ซึ่งผลลัพธ์ที่ถูกแสดงออกมานั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ได้รับนั่นเอง
หน้าจอ Monitor ในภาษาไทยนั้นสามารถเรียกได้หลายอย่าง เช่น จอภาพ จอภาพคอมพิวเตอร์ หน้าจอคอม เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรจอมอนิเตอร์นั้นก็ยังคงเป็นตัวกลางที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ หากไม่มีหน้าจอนี้แล้ว ผู้ใช้งานก็จะไม่สามารถรับรู้ผลลัพธ์จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ได้เลย

ประเภทของจอมอนิเตอร์ (Monitor)

จอมอนิเตอร์สามารถจำแนกประเภทได้จากแผง Panel (แผงหน้าปัด) ของจอ Monitor โดยแผง Panel ที่ปัจจุบันนิยมใช้มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่แบบ TN, แบบ VA และแบบ IPS ดังนี้

  1. จอมอนิเตอร์ แบบ TN (Twisted Nematic)

จอมอนิเตอร์แบบ TN เป็นจอคอมพิวเตอร์ที่มีจุดเด่นสำคัญคือเวลาตอบสนองที่รวดเร็ว สามารถทำอัตรารีเฟรชถึง 240 Hz และที่สำคัญคือ ราคาหน้าจอมอนิเตอร์ประเภทนี้ถูกกว่าประเภทอื่น ทำให้จอแบบ TN เป็นหนึ่งในตัวเลือกของเกมเมอร์หลายคนที่ให้ความสำคัญกับความเร็วของภาพ
อย่างไรก็ตามในด้านคุณภาพของสีและภาพนั้นไม่โดดเด่นมากนัก เพราะมีมุมมองด้านข้างที่แคบและสีค่อนข้างเพี้ยน ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับการใช้งานด้านภาพและสีที่ต้องการรายละเอียดและความแม่นยำสูง

  1. จอมอนิเตอร์ แบบ VA ( Vertical Alignment)

จอมอนิเตอร์แบบ VA เป็นจอคอมพิวเตอร์ที่มีจุดเด่นคือค่า Contrast Ratio หรืออัตราส่วนความแตกต่างของสีขาวกับสีดำ ยิ่งมีค่ามาก ความคมชัดก็จะมากขึ้นตาม โดยจอภาพแบบ TN และ IPS มีค่า Contrast Ratio อยู่ที่ 1000 : 1 แต่ หน้าจอแบบ VA มีค่า Contrast Ratio ถึง 2000 : 1 หรือถ้าเป็นรุ่นที่สเปคสูงขึ้นก็อาจมีค่านี้สูงไปถึง 4500 : 1 หรือ 6000 : 1 เลยทีเดียว
แต่ในด้านอื่นนั้นหน้าจอคอมพิวเตอร์รุ่นนี้ก็ไม่ได้โดดเด่นมาก เมื่อเทียบกับจออีก 2 ประเภท ซึ่งทำให้ราคาจอแบบ VA รุ่นมาตรฐานทั่วไปไม่สูงเท่าแบบ IPS แต่ก็ไม่ได้เป็นจอคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดเท่ากับแบบ TN โดยจอประเภทนี้เหมาะสำหรับการดูหนัง ทำให้เรามักเห็นจอภาพคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ถูกนำไปใช้เป็นหน้าจอโทรทัศน์ด้วยนั่นเอง

  1. จอมอนิเตอร์ แบบ IPS (In-Plane Switching)

จอมอนิเตอร์แบบ IPS เป็นจอคอมพิวเตอร์ที่มีจุดเด่นในด้านของภาพและสี เพราะให้มุมมองกว้างที่สุด และสีเพี้ยนน้อยจนแทบไม่เพี้ยนเลย ซึ่งเหมาะอย่างมากกับการใช้งานเกี่ยวกับภาพและสีที่ต้องการรายละเอียดและความแม่นยำสูง เช่น การทำกราฟิก
แต่ด้วยจุดเด่นนี้ก็ทำให้ราคาจอคอมพิวเตอร์ประเภทนี้สูงขึ้นตามไปด้วย โดยทั่วไปสามารถทำอัตรารีเฟรชที่ 60 Hz หากต้องการมากกว่านี้ ราคาจอภาพก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น

 

วิธีวัดประสิทธิภาพของหน้าจอมอนิเตอร์ (Monitor)

การวัดประสิทธิภาพของจอภาพคอมพิวเตอร์ สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีนั้นก็จะมีการวัดที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  1. ความสว่างของหน้าจอ

วิธีแรกคือการวัดความสว่างของหน้าจอ โดยค่ามาตรฐานมักจะอยู่ที่ประมาณ 120 – 500 cd/m2 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและแสงสว่างจากภายนอก และความสว่างก็ไม่ควรจะน้อยหรือมากเกินไปด้วย

  1. ขนาดของจอภาพ

ขนาดของจอภาพก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ เพราะขนาดของหน้าจอคอมพิวเตอร์จะสัมพันธ์กันกับลักษณะการใช้งาน หากจอภาพมีขนาดที่ไม่เหมาะกับการใช้งานแล้ว ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานของคอมพิวเตอร์ลดน้อยลงไปด้วย

  1. อัตราส่วนของจอภาพ

จอมอนิเตอร์ในปัจจุบันจะมีอัตราส่วนของจอภาพหลัก ๆ 3 อัตราส่วน ได้แก่ 4 : 3 ซึ่งจะเป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบทั่วไป ส่วน 16 : 9 และ 16 : 10 จะเป็นหน้าจอแบบกว้างหรือที่เรียกว่า Wide Screen ซึ่งหน้าจอในลักษณะนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความกว้างของหน้าจอ เช่น การดูหนัง การทำกราฟิก หรือการตัดต่อวีดิโอ เป็นต้น

  1. ความละเอียดของจอภาพ

ความละเอียดของจอภาพเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยวัดประสิทธิภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยวัดจากจำนวนพิกเซลตามความกว้างและความสูงที่สามารถแสดงผลได้ ได้แก่ Full HD คือความละเอียดของจอภาพ 1920 x 1080 (1080p), 2K (QUD) คือความละเอียดของจอภาพ 2560 x 1440 (1440p) และ 4K (UHD) คือความละเอียดของจอภาพ 4096 x 2160 และ 3840 x 2160

  1. ระดับพิกเซล

ความคมชัดของจอคอมพิวเตอร์สามารถวัดได้ด้วยระยะห่างของพิกเซลสีเดียวกัน (ในหน่วยมิลลิเมตร) หรือเรียกว่าระดับพิกเซล ซึ่งระดับพิกเซลจะแปรผกผันกับความคมชัด คือยิ่งระดับพิกเซลมีค่าน้อย ความคมชัดของภาพก็จะยิ่งมากขึ้น

  1. อัตรารีเฟรช

อัตรารีเฟรช หรือ Refresh Rate คือจำนวนครั้งที่ภาพถูกฉายบนจอมอนิเตอร์ภายใน 1 วินาที ฉะนั้นหากค่าอัตรารีเฟรชยิ่งมากก็จะยิ่งทำให้การแสดงผลของหน้าจอคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

  1. เวลาตอบสนอง

เวลาตอบสนองคือเวลาที่ใช้ขณะพิกเซลเปลี่ยนจากสีดำเป็นขาว และเปลี่ยนกลับมาเป็นสีดำอีกครั้ง ภายในมิลลิวินาที โดยเวลาตอบสนองนี้ยิ่งน้อยก็จะยิ่งทำให้การแสดงผลของจอภาพคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  1. อัตราส่วนความแตกต่าง

อัตราส่วนความแตกต่าง หรือ Contrast Ratio คืออัตราส่วนความแตกต่างของสีขาว (สีที่ส่องสว่างที่สุด) กับสีดำ (สีที่มืดที่สุด) โดยยิ่งค่านี้สูงมากขึ้น ก็ทำให้หน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงสีที่จัดจ้านและคมชัดมากยิ่งขึ้นไปด้วย

  1. การใช้พลังงาน

นอกจากการแสดงภาพออกมาได้คมชัดและรวดเร็วแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยคือการใช้พลังงานที่พอดี ไม่ควรจะใช้พลังงานมากเกินไป เพราะจะทำให้กินไฟมาก จึงทำให้ปัจจุบันมีหน้าจอคอมหลายรุ่นที่สามารถควบคุมการใช้งานไม่ให้ใช้พลังงานมากเกินไปนั่นเอง

  1. มุมในการมอง

จอคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องแสดงภาพที่ปรากฏบนหน้าจอได้อย่างชัดเจนรอบด้าน แม้จะอยู่ในมุมที่หันเหหน้าจอออกไปแล้วคุณภาพก็ยังไม่ลดลง โดยจอมอนิเตอร์บางประเภทนั้นมีมุมมองที่กว้างที่สุดประมาณ 178 องศา ซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพบนจอภาพคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน

 

ข้อควรรู้ในการเลือกซื้อหน้าจอมอนิเตอร์ (Monitor)

การเลือกซื้อจอคอมพิวเตอร์ในแต่ละครั้ง มีสิ่งที่ควรรู้และคำนึงถึงเพื่อให้ได้จอมอนิเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานให้คุ้มกับราคาที่จ่าย โดยข้อควรรู้หลัก ๆ ที่ควรคำนึงถึงมีดังนี้

  1. เลือกจากการใช้งานเป็นหลัก

จอภาพคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 ประเภทที่ได้กล่าวไปมีจุดเด่นในการใช้งานที่ต่างกัน เพื่อให้ใช้งานอย่างคุ้มค่า ควรรู้ก่อนว่าต้องการใช้งานแบบไหนเป็นหลัก อย่างจอมอนิเตอร์แบบ TN เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปหรือการเล่นเกม ส่วนจอแบบ VA เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความคมชัดของภาพเช่นการดูหนัง และจอภาพแบบ IPS เหมาะกับการใช้งานกราฟิกหรืองานที่ต้องการคุณภาพของภาพและสีที่สูงนั่นเอง

  1. เลือกจากประสิทธิภาพของหน้าจอที่ต้องการ

จอคอมพิวเตอร์แต่ละประเภทมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้จอมอนิเตอร์ที่ตรงกับความต้องการใช้งานมากที่สุด จึงควรทราบถึงรูปแบบการใช้งานหลักของเราเสียก่อน จะช่วยให้เลือกจอภาพคอมพิวเตอร์ที่ถูกใจและมีประสิทธิภาพตรงกับการใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น

  1. เลือกตามงบประมาณที่กำหนดไว้

ราคาจอคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลายแตกต่างกันไปตามสเปคและประสิทธิภาพ หากเรารู้การใช้งานและประสิทธิภาพที่ต้องการแล้ว ก็จะช่วยให้กำหนดราคาจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในงบประมาณได้ โดยไม่ต้องซื้อหน้าจอราคาสูงจนเกินความจำเป็น

  1. เลือกจากประสบการณ์การใช้งาน

นอกจากข้อควรรู้ในการเลือกทั้ง 3 ข้อที่กล่าวไปแล้ว เราอาจจะนำประสบการณ์การใช้จอคอมพิวเตอร์เครื่องเก่ามาเปรียบเทียบด้วยว่ามีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร เพื่อให้ได้หน้าจอใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่เจอกับปัญหาเก่า ๆ ที่เคยพบมา และอาจเลือกซื้อเผื่อการใช้ในอนาคตเล็กน้อย เพื่อให้เราสามารถใช้งานจอมอนิเตอร์ได้ยาวนานและคุ้มค่ามากที่สุด

 

รับซื้อจอคอม อำนาจเจริญ | รับซื้อคอม อำนาจเจริญ

ประวัติ อำนาจเจริญ

(บทความจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_40129 )

ชื่อ “อำนาจเจริญ” แรกมีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2401 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 4 (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2394-2411) ได้ชื่อจากราชทินนามเจ้าเมืองคนแรก ว่า “พระอมรอำนาจ” อำนาจเจริญเริ่มจากชุมชนหมู่บ้าน เติบโตเป็นเมือง แล้วเป็นจังหวัด จะทบทวนความเป็นมาก่อนมีชื่ออำนาจเจริญอย่างย่อๆ ดังนี้

1. บริเวณจังหวัดอำนาจเจริญเมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว เป็นหลักแหล่งของกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์ พูดภาษาตระกูลต่างๆ หลายตระกูล2. หลัง พ.ศ. 1000 รับศาสนาพุทธ-พราหมณ์ ก็เติบโตเป็นบ้านเมือง ส่วนหนึ่งของรัฐเจนละในอำนาจของตระกูลเสนะ เช่น จิตรเสน หรือ มเหทรวรรมัน

3. หลัง พ.ศ. 1600 กลุ่มชนหลายชาติพันธุ์เคลื่อนย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่อื่นๆ ที่อุดมสมบูรณ์กว่า ทำให้บริเวณจังหวัดอำนาจเจริญโรยราแล้วรกร้างไปเป็นป่าดงราว 500 ปี หรืออาจมากกว่านั้น

4. หลัง พ.ศ. 2237 มีความขัดแย้งทางการเมืองในราชสำนักเวียงจัน พระสงฆ์มีสมณศักดิ์ว่า พระครูโพนสะเม็ก หรือ พระครูยอดแก้ว ชาวบ้านทั่วไปรู้จักในนาม ยาคูขี้หอม เป็นผู้นำอพยพหนีจากเวียงจันลงมาตามลำน้ำโขงผ่านบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ ถึงเมืองจัมปาสักก็ตั้งบ้านเมืองใหม่

มีคำบอกเล่าว่าคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มอพยพหนีความขัดแย้งจากเวียงจันคราวนั้น แยกจากขบวนใหญ่เข้าไปตั้งบ้านเรือนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง บริเวณที่มีชื่อเรียกว่า บ้านทรายมูล กับ บ้านดอนหนองเมือง สืบจนปัจจุบันคือ บ้านพระเหลา กับ เมืองพนานิคม อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ

5. คนกลุ่มใหญ่ที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ มีขึ้นหลังกรุงศรีอยุธยาแตก เมื่อ พ.ศ. 2310 เพราะเกิดความขัดแย้งทางการเมืองในราชสำนักเวียงจัน ทำให้พระวอพาผู้คนหนีจากเมืองเวียงจัน เมื่อ พ.ศ. 2311 (ต้นยุคกรุงธนบุรี) ลงไปทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในดินแดนอีสาน ถึงเมืองหนองบัวลำภู (จังหวัดหนองบัวลำภู) แต่ถูกติดตามปราบปรามเลยหนีลงไปทางแม่น้ำโขง ผ่านบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ จนถึงเมืองจัมปาสัก เหมือนคราวยาคูขี้หอม

ต่อมาพระเจ้าตากแห่งกรุงธนบุรีโปรดให้เจ้าพระยาจักรี (ต่อไปคือ รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ยกไปตีได้เมืองเวียงจันเมื่อ พ.ศ. 2321 แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตลงไปกรุงธนบุรี ความนี้เองที่เจ้าพระยาจักรีให้คนไปเกลี้ยกล่อมผู้คนชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เป็นชาวเมืองเซโปน (ตะโปน) และเมืองใกล้เคียงทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในลาวให้อพยพไปตั้งบ้านเรือนอยู่ฝั่งขวา บริเวณที่เป็นดงบังอี่ และพื้นที่ใกล้เคียงจนถึงอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ต่อเนื่องถึงบ้านกำปี้ จังหวัดอำนาจเจริญ (ปัจจุบันคือบ้านฤกษ์อุดม ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา)

6. กรุงรัตนโกสินทร์สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 รัชกาลที่ 1 โปรดให้เกณฑ์คนจากบ้านเมืองสองฝั่งโขงซึ่งรวมกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญด้วย ไปเป็นแรงงานขุดคูเมืองรอบพระนคร และสร้างกำแพงเมือง

7. กำเนิดเมืองอุบลราชธานี บริเวณบ้านห้วยแจละแม เมื่อ พ.ศ. 2335 รัชกาลที่ 1 โปรดให้พระปทุมสุรราชภักดี (ท้าวคำผง) ผู้นำปราบกบฏ อ้ายเชียงแก้ว (เมืองโขงที่จัมปาสัก) เป็นเจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์ พระประทุมวรราชสุริยวงศ์

ขณะนั้นยังไม่มีเมืองอำนาจเจริญ

จนถึง พ.ศ. 2357 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 2 ท้าวก่ำ (หรืออุปฮาดก่ำเป็นบุตรเจ้าพระวอ) แยกจากเมืองอุบลไปหาหลักแหล่งใหม่ แล้วเกณฑ์ไพร่พลหลายชาติพันธุ์หักร้างถางพงป่าเพื่อก่อบ้านสร้างเมืองบริเวณที่เรียกว่า ภูเกษตร โพนทอง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ) แต่ไม่ทันได้สร้างเมืองก็จำเป็นต้องย้ายไปอยู่ริมแม่น้ำโขงที่บ้านโคกดงกงพะเนียง ภายหลังได้ชื่อเมืองเขมราฐ (ปัจจุบันคือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี) ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ

8. กำเนิดเมืองอำนาจเจริญ เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในแผ่นดินรัชกาล ที่ 3 (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2367-2394) หลังเหตุการณ์ขัดแย้งกับเจ้าอนุวงศ์เวียงจัน (พ.ศ. 2369-2370) เมื่อบรรดาผู้คนหลายชาติพันธุ์ในเมืองพวนพากันย้ายครัวจากจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ในลาว) ข้ามไปอยู่ฝั่งขวาที่ปัจจุบันเป็นเขตจังหวัดอำนาจเจริญ นครพนม สกลนคร กระจายเข้าไปถึงจังหวัดใกล้เคียงด้วย

กลุ่มชาติพันธุ์คราวนั้นมีหลายพวก เช่น พวน ผู้ไท แสก ญ่อ (ย้อ) โญ่ย (โย) มีทั้งตระกูลไทย-ลาว และตระกูลมอญ-เขมร ฯลฯ

บริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ เริ่มตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านช้องนาง (ออกเสียงเป็นซ้องนาง แต่ฟังเป็นส่องนาง ปัจจุบันคืออำเภอเสนางคนิคม) กับเมืองพนานิคม (ปัจจุบันคืออำเภอพนานิคม) แต่มีบางกลุ่มไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านบุ่ง ติดห้วยปลาแดก ครั้น พ.ศ. 2393 ย้ายไปแหล่งใหม่ที่บ้านค้อ ที่ต่อไปเรียกเป็นบ้านค้อใหญ่คอนชัย (ปัจจุบันคืออำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ)

9. ชื่อ “อำนาจเจริญ” แรกมีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2401 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 4 (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2394-2411) ได้ชื่อจากราชทินนามเจ้าเมืองคนแรกว่า พระอมรอำนาจ

10. อำเภออำนาจเจริญในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 เป็นเมืองน้อยหรือเมืองบริวารของเมืองที่ใหญ่กว่า เช่น เมืองอุบลราชธานี, เมืองเขมราฐ, เมืองยโสธร สุดแต่จะถูกกำหนด

11. พ.ศ. 2460 เปลี่ยนชื่ออำเภออำนาจเจริญเป็น “อำเภอบุ่ง” ขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ตั้ง เพราะว่า บุ่ง แปลว่า บริเวณที่มีน้ำ หรือบึง ต่อมา พ.ศ. 2482 เปลี่ยนชื่ออำเภอบุ่ง เป็นอำเภออำนาจเจริญตามเดิม

12. พ.ศ. 2519 เสนอพระราชบัญญัติจังหวัดอำนาจเจริญครั้งที่ 1 แต่สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบเสียก่อน พ.ศ. 2522 เสนอพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญอีกครั้ง พ.ศ. 2536 รัฐบาลตราพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญมี 7 อำเภอ คืออำเภอชานุมาน, อำเภอพนา, อำเภอลืออำนาจ, อำเภอเสนางคนิคม, อำเภอปทุมราชวงศา, อำเภอหัวตะพาน และอำเภอเมืองอำนาจเจริญ

อำเภอชานุมาน ชื่อชานุมาน เดิมเขียนว่า ชานุมาร ตามนิทานชาวบ้านแต่งขึ้นจากเรื่องรามเกียรติ์สำนวนลาวสองฝั่งโขง ทศกัณฐ์ที่เป็นยักษ์ยอมแพ้พระรามแล้วคุกเข่าขอชีวิต ชานุมาร มาจากคำบาลีว่า ชานุ-เข่า กับ มาร-ยักษ์ ต่อมาเห็นว่าไม่เป็นมงคล เลยเปลี่ยนมาร เป็น มาน เพื่อให้หมายถึงมานะ พยายาม

อำเภอพนา เดิมมีฐานะเป็นเมืองพนานิคม ตั้งในรัชกาลที่ 5 โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเผลา หรือพระเหลาก็เรียก เป็นเมืองพนานิคม และให้เพียเมิองจันทน์ เป็นพระจันทวงษา เจ้าเมือง ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี ชื่อ “เผลา” กร่อนมาจากชื่อพระเหลา หมายถึงพระพุทธรูปงดงาม คำว่า เหลา แปลว่างดงามมักใช้ทั่วไปในคำว่า หล่อเหลา

อำเภอลืออำนาจ เดิมชื่อบ้านค้อใหญ่คอนไซ ตามนิทานชาวบ้าน ลืออำนาจ ตั้งตามชื่อพระสำคัญประจำเมืองคือ พระเจ้าใหญ่ลือไชย (พระฤทธิ์ลือชัย) และชื่อเมืองเดิมคืออำนาจเจริญ ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่ตำบลบุ่งในปัจจุบัน

อำเภอเสนางคนิคม เดิมชื่อบ้านหนองทับม้า เพราะเป็นบริเวณตั้งทับที่พักม้าของนายพราน เสนางคนิคม มาจาคำบาลีว่า เสนางค กับนิคม เสนาง-เหล่าทหาร, ไพร่พล, นิคม-ชุมชน, หมู่บ้านใหญ่ เสนางคนิคม-ชุมชนที่เป็นพลไพร่ทหาร

อำเภอปทุมราชวงศา เป็นชื่อตำแหน่งเดิมของ ท้าวคำผง เจ้าเมืองอุบลฯ คนแรก โดยใช้ชื่อว้า พระปทุมราชวงศา ก่อนจะเปลี่ยนเป็น พระปทุทวรราชสุริยวงศ์

อำเภอหัวตะพาน หัวตะพาน มาจากคำว่า ขัวพาด ขัว เป็นคำเก่าแก่ในตระกูลไทย-ลาว แปลว่า สะพาน เนื่องจากหมู่บ้านนี้มีน้ำล้อมรอบ 4 ด้าน จึงต้องใช้ขัวพาดข้าม ต่อมาขัวพาด เพี้ยนเป็น ขัวผ่าน, ขัวพาน, ขัวตะพาน และหัวตะพาน ในที่สุด

อำเภอเมืองอำนาจเจริญ เดิมชื่อ บ้านห้วยปลาแดก ในพื้นที่มีบุ่งน้ำใหญ่ ต่อมาจึงเรียกกันว่า บ้ายบุ่ง ส่วนชื่ออำนาจเจริญ ตั้งขึ้นในรัชกาลที่ 4 โดยยกบ้านค้อ (อำเภอลืออำนาจในปัจจุบัน) ให้เป็นเมืองชื่อเมืองอำนาจเจริญ ตามชื่อของพระอมรอำนาจ ผู้เป็นเจ้าเมือง

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *