เรารับซื้อ
|

รับซื้อคอม อุบล คอมพิวเตอร์ PC คอมประกอบ จังหวัดอุบลราชธานี ไปรับถึงที่ จ่ายเงินทันที

รับซื้อคอม อุบล Computer ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ

รับซื้อคอมพิวเตอร์ อุบลราชธานี    รับซื้อคอมมือสอง รับซื้อคอมพิวเตอร์ มีบริการรับถึงที่ ตามแต่ตกลง หรือรับซื้อคอม ยกมาขายที่ร้าน หรือ ส่งขนส่งเอกชนมาเรารับหมด อยากขาย คอมมือสอง ให้นึกถึงเรา ได้ราคาดี แอดไลน์ @webuy (มีเครื่องหมาย @ ด้วย) เราพร้อมจะตีราคาให้ 24 ชั่วโมง หรือโทรด่วน 0642579353

รับซื้อคอม อุบล
รับซื้อคอม อุบล

สแกน QR Code แอดไลน์ได้เลย

รับซื้อคอมอุบล รับซื้อคอมพิวเตอร์ อุบล

รับซื้อคอม อุบล
รับซื้อคอม อุบล

https://www.traveloka.com/th-th/explore/destination/ubon-ratchathani-temple/51792

ประวัติ อุบลราชธานี

 อุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีความเป็นมายาวนานหลายร้อยปี ในอดีตเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรขอม แต่หลังจากที่อาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจไป ดินแดนแห่งนี้ก็ได้เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา ผ่านมาจนกระทั่งสมัยกรุงธนบุรี ท้าวคำผง (พระประทุมวรราชสุริยวงศ์) ท้าวทิศพรหม และท้าวก่้า บุตรพระวอ พระตา หนีภัยสงครามจากเวียงจันทน์ มาที่ เมืองอุบลราชธานี ที่สมัยนั้นยังเป็นเพียงชุมชนที่กลุ่มชนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเท่านั้นค่ะ

     จนกระทั่งสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์ที่จะรวมพลเมืองเพื่อเป็นกำลังของประเทศ โดยทรงมีพระราชกำหนดว่า หากเจ้าเมืองใดหรือบุคคลใดสามารถรวบรวมไพร่พลและตั้งเมืองได้เป็นปึกแผ่นจะแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนั้น ท้าวคำผง หรือ พระปทุมสุรราช ในสมัยนั้นก็สามารถยกทัพปราบกบฏจนได้รับชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งพระปทุมสุรราชเป็น พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ เป็นเจ้าเมืองคนแรกของอุบลราชธานีเมื่อปี พ.ศ. 2335 

เหตุผลที่อุบลราชธานี มีคำว่า “ราชธานี” ลงท้าย แม้จะไม่เคยเป็นเมืองหลวงของไทยเลยก็ตาม มาจากการที่สมัยช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา อุบลราชธานีเป็นที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลอีสานมาโดยตลอด จึงเปรียบเสมือนเป็นราชธานีของแดนอีสานค่ะ แต่ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ได้มีการยกเลิกระบบมณฑลในปี พ.ศ. 2468 อุบลราชธานี ก่อนจะมีการรวบรวมเป็นระบบจังหวัดนับแต่นั้นมา แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น จังหวัดอุบลราชธานี ก็ถือว่าเป็นจังหวัดใหญ่แห่งภาคอีสานที่เปี่ยมไปด้วยประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม รวมถึงธรรมชาติที่สวยงามแปลกตา

คอมพิวเตอร์ อุบล | รับซื้อคอม อุบล


 อำเภอกุดข้าวปุ้น     อำเภอโขงเจียม      อำเภอเขมราฐ     อำเภอเขื่องใน   อำเภอเดชอุดม
  อำเภอดอนมดแดง      อำเภอตระการพืชผล อำเภอตาลสุม     อำเภอทุ่งศรีอุดม     อำเภอนาจะหลวย
 อำเภอนาตาล   อำเภอนาเยีย     อำเภอน้ำขุ่น     อำเภอน้ำยืน   อำเภอบุณฑริก
อำเภอโพธิ์ไทร     อำเภอพิบูลมังสาหาร     อำเภอม่วงสามสิบ     อำเภอเมืองอุบลราชธานี     อำเภอวารินชำราบ
อำเภอศรีเมืองใหม่     อำเภอสว่างวีระวงศ์     อำเภอสำโรง    อำเภอสิรินธร    อำเภอเหล่าเสือโก้ก

รับซื้อคอม อุบล

1.อำเภอเมืองอุบลราชธานี

ระยะห่างจากอำเภอถึงจังหวัด: 0 กิโลเมตร พื้นที่: 406.385 ตารางกิโลเมตร

ประวัติการก่อตั้งอำเภอเมืองอุบลราชธานี

อำเภอเมืองอุบลราชธานี ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2445 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีที่ทำการอยู่หัวมุมถนนเขื่อนธานีตัดกับถนนอุปราช ภายในบริเวณเดียวกันกับศาลากลางเมืองอุบลราชธานีในขณะนั้น (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดอุบลราชธานี) มีพระวัณโกเมศ (เจียง) เป็นนายอำเภอคนแรก พ.ศ.2452 เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบูรพาอุบล พ.ศ.2456 เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมือง พ.ศ.2460 เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองอุบล แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองอุบลราชธานีในเวลาต่อมา

2.อำเภอกุดข้าวปุ้น

ระยะห่างจากอำเภอถึงจังหวัด: 78 กิโลเมตร พื้นที่: 320 ตารางกิโลเมตร

ประวัติการก่อตั้งอำเภอกุดข้าวปุ้น

อำเภอกุดข้าวปุ้น ตั้งอยู่บ้านข้าวปุ้น หมู่ 1 ตำบลข้าวปุ้นอยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศเหนือ ตามถนนสายตระการ-กุดข้าวปุ้น ระยะทางประมาณ 78 กิโลเมตร  อำเภอกุดข้าวปุ้น เดิมคือ ตำบลข้าวปุ้น ตำบลแก้งเค็ง ตำบลโนนสวาง ตำบลกาบิน และตำบลหนองทันน้ำ ซึ่งอยู่ในเขตปกครองของอำเภอตระการพืชผลก่อนจะแยกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอและอำเภอต่อมา ถ้าเมื่อย้อนไปในอดีตพื้นที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเขมราฐสมัยเป็นเมืองเขมราฏร์ธานี ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งอุปฮาดก่ำ (บุตรพระวอ) เป็นพระเทพวงศาเจ้าเมืองเขมราฏร์ธานีเป็นเจ้าเมืองคนแรก (อ.เขมราฐ) ตั้งบ้านโคกกงพะเนียงหรือโคกพะเนียงเป็นเมืองเขมราฏร์ธานีใน พ.ศ.2357 ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ในปีเดียวกันนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านสิงท่าเป็นเมืองยโสธรตั้งราชวงศ์ (สิง) เมืองโขงเป็นพระสุนทรราชวงษา ต่อมาในปี พ.ศ.2406 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านสะพือเป็นเมืองตระการพืชผล โปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวสุริยวงศ์ (อ้ม) เป็นพระอมรดลใจเจ้าเมือง ต่อมาในปี พ.ศ.2452 ทางราชการได้รวมเขตการปกครองอำเภอตระการพืชผลเข้าด้วยกันกับอำเภอพนานิคม และเรียกเป็นอำเภอพนานิคม และต่อมาในปี พ.ศ.2460 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอขุหลุและเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอตระการพืชผลอีกครั้งในปี พ.ศ.2482 ฉะนั้น เขตพื้นที่อำเภอกุดข้าวปุ้นขึ้นตรงต่อตระการพืชผลตลอดมาจนมาถึงปี พ.ศ.2514 บ้านเมืองเจริญและมีประชากรมากขึ้นทางราชการจึงได้แยกออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอกุดข้าวปุ้นและได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอกุดข้าวปุ้นเมื่อ พ.ศ.2522 อำเภอนี้มีวัดขุมคำ มีพระเจ้าใหญ่ขุมคำองค์ศักดิ์สิทธิ์มากชาวบ้านกล่าวกันว่า ใครไปบนบานขอพรยศตำแหน่ง สอบเข้าเรียนมักได้สมประสงค์

ที่มาของการตั้งชื่ออำเภอกุดข้าวปุ้น

คำว่า “กุดข้าวปุ้น” มีความหมายได้สองนัย คือ “ลำน้ำที่คดงอเหมือนเส้นขนมจีน” หรือ “ชาวบ้านได้อาศัยที่ในที่แห่งนี้ในขบวนการทำขนมเส้น” (กุด = บึง, ลำน้ำปลายด้วน ข้าวปุ้น = ขนมจีน, ขนมจีน)

3.อำเภอเขมราฐ

ระยะห่างจากอำเภอถึงจังหวัด: 104 กิโลเมตร พื้นที่: 522.161 ตารางกิโลเมตร

ประวัติการก่อตั้งอำเภอเขมราฐ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้าน “โศกกงพะเนียง” เป็นเมือง “เขมราษฎร์ธานี” ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พร้อมกันนั้นก็ โปรดเกล้าฯ ตั้ง “อุปฮาดก่ำ” เป็น “พระเทพวงศา” เจ้าเมือง โดยกำหนดให้ผูกส่วยน้ำรัก 2 เลกต่อเบี้ย ป่าน 2 ขอด่อ 10 บาท เมื่อปี พ.ศ.2357 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่ มณฑลอีสานถูกแบ่งออกเป็น 5 บริเวณ สำหรับบริเวณอุบลราชธานี มีอยู่ 3 เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองเขมราฐ และเมืองยโสธร แต่ละเมืองมีเมืองที่ขึ้นสังกัดอยู่หลายอำเภอ เมืองเขมราฐมีอำเภอที่อยู่ในความปกครอง 6 อำเภอ คือ อำเภออุทัยเขมราฐ อำเภอประจิมเขมราฐ อำเภออำนาจเจริญ อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอโขงเจียม และอำเภอวารินชำราบ

ปี พ.ศ.2452 ได้มีการปรับปรุงการปกครองในบริเวณเมืองอุบลราชธานีอีกครั้งหนึ่ง เมืองเขมราฐถูกลดฐานะเป็นลงเป็นอำเภอ และรวมอำเภออุทัยเขมราฐกับอำเภอประจิมเขมราฐเข้าด้วยกัน เป็นอำเภออุทัยเขมราฐขึ้นกับเมืองยโสธรแต่ก็ยังคงเป็นบริเวณอุบลราชธานีอยู่เช่นเดิม

ปี พ.ศ. 2454 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลกับมณฑลร้อยเอ็ดอำเภออุไทยเขมราฐจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอเขมราฐ” เมื่อปี พ.ศ.2455 ขึ้นอยู่กับจังหวัดอุบลราชธานี ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มาของการตั้งชื่ออำเภอเขมราฐ

เมือง “เขมราษฎร์” ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น “เขมราฐ” ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็มีความหมายเดียวกัน คือ “ดินแดนแห่งความเกษมสุข” (ราษฎร์ = รัฐ, รัฎฐ์ = แว่น แคว้น หรือ ดินแดน ส่วนคำว่า “เขม” หมายถึง ความเกษมสุข)

4.อำเภอเขื่องใน

ระยะห่างจากอำเภอถึงจังหวัด: 39 กิโลเมตร พื้นที่: 772.819 ตารางกิโลเมตร

ประวัติการก่อตั้งอำเภอเขื่องใน

อำเภอเขื่องใน ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ตาม พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ.2440 ไม่ได้มีฐานะเป็นเมืองเช่นเมืองอื่น ๆ แม้ว่าจะไม่มีการตั้งเป็นเมืองแต่กับปรากฏว่ามีหมู่บ้านใหญ่ ๆ และสำคัญหลายหมู่บ้าน ประกอบด้วยบ้านเขื่องใน เขื่องกลาง บ้านสว่าง และบ้านหนองใส ส่วนบ้านกวางคำ หรือบ้านโนนธาตุเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งมาพร้อมกับบ้านเขื่องใน แต่ละหมู่บ้านมีท้าวฝ่ายซึ่งมีอำนาจหน้าที่เท่าเทียมนายอำเภอในปัจจุบันทำหน้าที่ปกครองดูแลขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี ช่วงปี พ.ศ.2443-2445 ชื่อของอำเภอเขื่องในปรากฎขึ้นครั้งแรก ใช้ชื่อว่า “อำเภอปัจจิมูปลนิคม” เป็นนามที่พระราชทานมาจากกรุงเทพฯ พ.ศ.2452 เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอปจิมอุบล” พ.ศ.2456 เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอตระการพืชผล” และ พ.ศ.2460 จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น “อำเภอเขื่องใน” จนถึงปัจจุบัน

ที่มาของการตั้งชื่ออำเภอเขื่องใน

ที่ตั้งของอำเภอเขื่องในอยู่ใกล้แม่น้ำชี ชื่อ “เขื่องใน” เป็นชื่อที่ตั้งตาม “หมู่บ้านเขื่องใน” ซึ่งเดิมชื่อ “เขี่ยงใน” เพราะภาษาอีสานโบราณไม่มีสระเอือ เมื่อมีการเรียนภาษาไทยจึงกลายมาเป็น “เขื่องใน” หมู่บ้านเขี่ยงใน ตั้งชื่อตามชื่อหนองน้ำชื่อ “หนองเขี่ยง ” ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งน้ำลึกประมาณ 1-2 เมตร ในหน้าฝน คล้าย “เขี่ยงปลา” หรือที่วางไข่ของปลาในน้ำในฤดูฝน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เขี่ยงปลา”

5.อำเภอโขงเจียม

ระยะห่างจากอำเภอถึงจังหวัด : 99 กิโลเมตร พื้นที่: 901.8 ตารางกิโลเมตร

ประวัติการก่อตั้งอำเภอโขงเจียม

อำเภอโขงเจียมเดิมมีฐานะเป็นเมือง ชื่อเมืองโขงเจียม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมื่อ พ.ศ.2364 โดยให้ขึ้นตรงต่อเมืองนครจำปาศักดิ์ ครั้งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (ภายหลังจากปราบปรามกบฏอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เรียบร้อยแล้ว) โปรดเกล้าฯ ให้เมืองโขงเจียมไปขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ เมื่อ พ.ศ.2371 ในคราวปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ.2443-2445 เมืองโขงเจียมถูกลดฐานะเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ ต่อมาได้ยุบเมืองเขมราฐลงเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อเมืองยโสธร เมืองโขงเจียมจึงมีฐานะเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อเมืองยโสธร

ปี พ.ศ.2457 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บริเวณบ้านด่านปากมูลและเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอสุวรรณวารี” เมื่อปี พ.ศ.2460 และในปี พ.ศ.2482 ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนชื่ออำเภอสุวรรณวารี เป็น “อำเภอโขงเจียม” อีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ.2500 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอโขงเจียมมาตั้งที่โคกหมาจอก (บ้านศรีเมืองใหม่ ตำบลนาคำในปัจจุบัน) ส่วนที่เป็นที่ตั้งอำเภอโขงเจียมเดิมนั้น ให้ตั้งเป็น “กิ่งอำเภอบ้านด่าน” และยกฐานะเป็น “อำเภอบ้านด่าน” เมื่อ พ.ศ.2502 ต่อมา พ.ศ. 2514 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอโขงเจียม” อีกครั้งหนึ่ง

ที่มาของการตั้งชื่ออำเภอโขงเจียม

คำว่า “โขง” หมายถึง หัวหน้าช้าง หรืออาจจะมาจากคำว่า “โขลง” ที่หมายถึง ฝูงช้างก็ได้ คำว่า “เจียม” คาดว่า เพี้ยนมาจากคำว่า “เจียง” (ส่วย) ซึ่งแปลว่า “ช้าง” ดังนั้นอำเภอโขงเจียมจึงน่าจะหมายถึง “เมืองที่มีช้างมาอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่”

6.อำเภอดอนมดแดง

ระยะห่างจากอำเภอถึงจังหวัด: 35 กิโลเมตร พื้นที่: 235 ตารางกิโลเมตร

ประวัติการก่อตั้งอำเภอดอนมดแดง

พ.ศ.2311 พระวอ พระตา ได้ตั้งเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลำภู) ขึ้น พระเจ้าสิริบุญสารได้ยกทัพมาตีเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน พระวอ พระตา จึงอพยพประชาชนและครอบครัวมาที่บ้านดู่บ้านแก (เวียงดอนกอง) อาณาจักรล้านช้างจำปาสัก ต่อมาอพยพมาที่เมืองดอนมดแดง 

พ.ศ.2326 ได้เกิดน้ำท่วมเมืองบริเวณเกาะดอนมดแดงซึ่งเป็นที่ตั้งเมือง พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) จึงอพยพไปอยู่ที่ดงอู่ผึ้ง ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และขอตั้งดงอู่ผึ้งเป็นเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช

อำเภอดอนมดแดงแต่เดิม คือ ตำบลเหล่าแดง ตำบลคำไฮใหญ่ ตำบลดอนมดแดง และตำบลท่าเมือง ซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง ท้องที่อำเภอดอนมดแดงได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2533 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2534 โดยตั้งเป็น “กิ่งอำเภอดอนมดแดง” ขึ้นกับอำเภอเมืองอุบลราชธานี

อำเภอดอนมดแดง ได้รับการประกาศจัดตั้งโดยแยกพื้นที่จากอำเภอเมืองอุบลราชธานี ขึ้นเป็นอำเภอลำดับที่ 19 ของจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2539

ที่มาของการตั้งชื่ออำเภอดอนมดแดง

อำเภอดอนมดแดงได้ชื่อตามเกาะ (ดอน) กลางลำน้ำมูล ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี โดยล่องไปตามลำน้ำมูลระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เคยอพยพไพร่พลจากจำปาศักดิ์มาอยู่ไม่ได้นาน ก็ต้องอพยพต่อไปอยู่ที่ดงอู่ผึ้ง (อำเภอเมืองปัจจุบัน) เพราะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำท่วมขังและมีมดแดงชุกชุมมาก

7.อำเภอเดชอุดม

ระยะห่างจากอำเภอถึงจังหวัด: 45 กิโลเมตร พื้นที่: 1416 ตารางกิโลเมตร

ประวัติการก่อตั้งอำเภอเดชอุดม

ตำบลเมืองเดช เดิมชื่อว่า “เมืองเดชอุดม” เมื่อ พ.ศ.2388 หลวงธิเบศ หลวงมหาดไทย และหลวงอภัย กรมการเมืองศรีสะเกษ พากันอพยพครอบครัวแยกจากเมืองศรีสะเกษมาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านลำโดมใหญ่ (ปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 1 บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเดช) ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างเมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองอุบล เมืองขุขันธ์ และเมืองศรีสะเกษแนวเขตต่อกัน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลำโดมใหญ่ขึ้นเป็น “เมืองเดชอุดม” ตั้งหลวงธิเบศ เป็น พระศรีสุระ เป็นเจ้าเมืองขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงเทพมหานคร

ต่อมาใน พ.ศ.2455 ให้ยุบเมืองเดชอุดมเรียกชื่อว่า “อำเภอเดชอุดม” ขึ้นตรงต่อจังหวัดศรีสะเกษ และโอนขึ้นมาตรงต่อจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ.2477 ในครั้งแรกนั้นอำเภอเดชอุดมตั้งที่ว่าอำเภอเดชอุดมอยู่ที่หมู่ 1 บ้านเมืองเก่า เป็นเมืองและอำเภอมาหลายปี ปรากฏว่าลำน้ำโดมไหลหลากมาจากทางเหนือทำให้เกิดฝนตกน้ำท่วม นายอำเภอเดชอุดม จึงได้ปรึกษาหารือกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ทั้งหมด ให้ความเห็นว่าบ้านโนนขามป้อม ซึ่งเป็นพื้นที่สูง ควรจะดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอเดชอุดม จึงได้ทำพิธีย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บ้านโนนขามป้อม เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2464 จนถึงปัจจุบัน (โนนขามป้อม ปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 7 บ้านหนองแสง)

ที่มาของการตั้งชื่ออำเภอเดชอุดม

เดชอุดม หมายถึง ดินแดนที่มีวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง บ้านเมืองสง่างามและมีข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ (เดช = อำนาจ ความงาม ความสุกใส ชื่อเสียง อุดม = สูงสุด ยิ่ง เลิศ มากมาย)

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *